พาเที่ยว วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (หลังการบูรณะใหญ่ 2560 )

พาเที่ยว วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (หลังการบูรณะใหญ่ 2560)

เกริ่นก่อนว่า admin ไม่เคยแวะเข้าไปที่วัดอรุณเลย ผ่านก็หลายครั้ง พอตอนต้นปีนึกอยากไปเที่ยวและถ่ายมาฝาก ก็ดันพบว่าอ่อ ติดเขาสร้างนั่งร้านเพื่อการบูรณะครั้งใหญ่ตั้งแต่ปีก่อนแล้วนี่เอง เลยทำให้ยังไม่ได้ไปถ่ายรอจนกระทั่งสัปดาห์ก่อน ต้นเดือนสิงหาคมเห็นในเฟสบุคว่าตอนนี้รื้อนั่งร้านออกหมดแล้วก็เลยลองไปถ่ายภาพมาให้ชมกันครับ

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ประวัติวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ( ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ )
วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม” ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือพระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปุญฺโญ)

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ในส่วนของการบูรณะทุกเจดีจะเป็นในโทนสีขาวสว่างตา เห็นว่าของเดิมเก่านั้นใช้ปูนดำและกระเบื้องสีเป็นหลัก (อันนี้แอดมินอ่านผ่านๆ มานะ เสียดายไม่ได้มาถ่ายก่อนที่จะบูรณะ) เลยไม่อาจเปรียบเทียบได้ แต่ได้แต่ดูจากภาพคนอื่นๆ เอามาลง ก็ต้องทำใจแหละทุกสิ่งอย่างย่อมเปลียนแปลงตามกาลเวลา ไม่มีอะไรแน่นอนการซ่อมแซมก็ต้องมี ผลการซ่อมก็แล้วแต่ช่วงคนหน้าที่ในการรับผิดชอบ  ความละเอียดในการคุมงานในช่วงเวลานั้นๆ ตามยุคสมัยที่จะตีความกันอันนี้คงไม่กล้าออกความเห็น เอาเป็นว่าก็ต้องทำใจ

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาแวะชมก็สามารถเข้าชมได้ทุกวันวันเวลา 08:30 – 18:00. น. นะครับ และแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยห้ามใส่กระโปรงสั้น แขนกุดต่างๆ ( ก็เหมือนเราเข้าวัดทั่วไปน่ะ)

แผนที่และการเดินทาง
ภายในตัววัดแทบจะไม่มีที่จอดเลยครับ ใครนำรถมาต้องหาที่จอดตั้งแต่ตอนเลี้ยวจากถนนใหญ่เลยจอดริมทางบริเวณถนนวังเดิม หรือหาที่จอดอื่นแล้วใช้บริการรถสาธารณะมาจะสะดวกกว่าครับ

Share this: Twitter | StumbleUpon | Facebook | digg

Comments

comments

เรื่องนี้ถูกเขียนใน เที่ยวในเมือง และติดป้ายกำกับ , , , , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร