พาเที่ยว นาข้าวขั้นบันไดแม่กลางหลวง

พาเที่ยว นาข้าวขั้นบันไดแม่กลางหลวง

เข้าสู่ปลายฝนต้นหนาวหลายท่านเริ่มเดินทางท่องเที่ยวกันแล้ว วันนี้ phateaw.com เลยขอนำเสนอสถานที่สักแห่งที่หลายคนยังไม่เคยเห็น ( ผมเองผ่านบ่อย แต่ไม่เคยแวะเลย ) กับเส้นทางเชียงใหม่ – อินทนนท์ ไม่ไกลเท่าไหร่นักแต่สวยงามจับใจแอดมินจริงๆ เลยครับนั่นก็คือ นาข้าวขั้นบันได บ้านแม่กลางหลวง นั่นเองครับ

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง ตั้งอยู่ กม ที่ 26 ของเส้นทางระหว่าง เชียงใหม่ – ดอยอินทนนทร์ อยู่ภายใต้เขตการปกครอง ของ หมู่ 17 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ได้อพยพ มาจากประเทศพม่าเข้ามาอยู่ ในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ เมื่อประมาณทศวรรษ 2330 และได้ อพยพมาตั้งถิ่นฐาน อยู่ในพื้นที่บ้านอ่างกาน้อย และบ้านผาหมอน เป็นหมู่บ้านหลักหรือหมู่บ้าเก๊า เมื่อประมาณ 20 กว่าปี ก่อนการอพยพย้ายถิ่นไปมาในบริเวณนั้น ตามความเชื่อ เกี่ยวกับ ภัยพิบัติและโรคระบาดที่เกิดขึ้น ได้มีการ ขยายหมู่บ้านจากบ้านอ่างกาน้อยไปบ้านแม่กลางหลวง และจากบ้านผาหมอน ไปยังบ้านหนองหล่มดังเช่นปัจจุบัน บริเวณลุ่มน้ำแม่กลาง หรือเรียกตามภาษาถิ่นว่า “แม่กลางคี” มีชนเผ่ากระเหรี่ยงอาศัยซึ่งล้วน เป็นกลุ่มชาติ พันธุ์ กระเหรี่ยงในกลุ่มสะกอ หรือยางขาวในภาษาราชการ หรือที่รู้จักในชื่อ ปกาเกอะญอ หรือ คานยอ (Kanyaw) อันหมายถึง ผู้มีความสมถะและเรียบง่าย บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลางประกอบด้วยชุมชนย่อย 4 แห่ง คือ ชุมชนบ้าน อ่างกาน้อย ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ชุมชนบ้านหนองหล่ม และชุนบ้านผาหมอน โดยมีจำนวน ครัวเรือนในแต่ละ กลุ่มบ้านประมาณ 60 – 80 ครัวเรือน

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

ตัวนาข้าวขั้นบันไดจะปลูกกันหลายแนว แต่ที่เป็นผืนใหญ่และเรียงตัว ทำแนวสันคันนาเป็นระเบียบจะเป็นจุดที่อยู่ด้านหุบเขาใกล้กับบ่อพักน้ำครับเป็นผืนใหญ่และทำเป็นระเบียบสวยงามมาก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านกับการเกษตร โดยน้ำที่นำมาทำนานั้นก็จะเป็นการต่อท่อรับน้ำมาจาก น้ำตกผาดอกเสี้ยว(น้ำตกรักจัง)นั่นเองแล้วไหลลงมาสู่บ่อพักน้ำที่ทำไว้ตรงสันเขาก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่คันนาต่างๆ ที่ทำต่างระดับไว้ สามารถเดินเพื่อถ่ายรูปตามคันนาต่างๆ ได้เลย แต่ดูดีๆระวังตกร่องคันนาละกัน ^^”
นาขั้นบันไดที่นี่ปลูกแค่ปีละครั้งเท่านั้นพอหมดฤดูข้าวก็จะปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อปรับหน้าดินกับสภาพอากาศที่เหมาะสมได้แก่ ข้าวโพดแทนถ้าต้องการดูนาข้าวขั้นบันไดช่วงที่สวยๆจะเป็นประมาณเดือน ก.ย – พ.ยโดยเดือนตุลาคมข้าวจะสีเขียวๆและเริ่มออกรวงข้าว พอปลายตุลาต้น พ.ย จะเปลียนสีเป็นสีเหลืองรวงข้าวโตเต็มที่เตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป ใครชอบภาพแนวไหนก็เลือกช่วงเวลากันเอาเองนะครับ ( ภาพชุดนี้ admin ไปประมาณต้นเดือนตุลาคม)

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

บ้านแม่กลางหลวง

ภายในหมู่บ้านก็มีร้านค้า 1-2 ร้านน่ะครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะอดอาหารอะไรไปไหนมีของกิน เครืองดื่มบริการกัน แต่อาจจะปิดเร็วสักหน่อยครับ 1-2 ทุ่มก็จะปิดแล้วจึงอาจจะต้องตุนสเบียงกันหน่อยหากใครเป็นคนนอนดึกทานจุกจิก

ที่พัก ในบ้านแม่กลางหลวงมีที่พักให้ได้ใช้บริการกันครับผม 2-3 ที่ราคาก็แล้วแต่ว่ามากันช่วงไหน ( hi-season ของที่นี่จะเป็นช่วงปลายเดือน ตุลาคม ขึ้นไปน่ะ เพราะเป็นช่วงที่นาข้าวเป็นสีเหลืองทองและอากาศเริ่มหนาว ) มีหลายที่ครับ
– โฮมสเตย์บ้านแม่กลางหลวง ติดต่อพี่สมศักดิ์ โทร 081 960 8856 , 08 1760 5181
– แม่กลางหลวงวิว โทร 085 720 9059 , 089 8770706 ( ใบ้ให้ว่าผมพักที่นี่ครับ )
– อินทนนท์ คีรีมายา แม่กลางหลวง โทร 081 960 8856
หรือจะท่านจะพักในเชียงใหม่ก่อนแล้วค่อยเดินทางมาเที่ยวเพื่อพักเหนื่อยก่อนก็ได้  ลองหา >>>ที่พักราคาพิเศษในเชียงใหม่ได้ที่นี่ <<<

การเดินทาง
ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 จากตัวเมืองเชียงใหม่จะ ผ่าน อ. หางดง อ.สันป่าตอง และอ. จอมทอง ต่อไปตามเส้นทาง อำเภอจอมทอง อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงหมายเลข 1009) อีกประมาณ 26 กิโลเมตร เมื่อขับมาสังเกตที่หลักกิโลที่ 26 ทางด้านขวามือ แล้วทางด้านซ้ายจะมีป้ายบอกแม่กลางหลวงและทางลงไปยังหมู่บ้าน ( ปากทางเข้ามีศาลาประจำทาง) เมื่อเลี้ยวเข้าไปข้ามลำธารเล็กๆ ก็จะถึงแล้ว ( รถยนต์ไปได้ทุกชนิดทางลาดยางดี แต่จะชันตรงทางลงหมู่บ้านนั่นเอง )

แผนที่ แม่กลางหลวง-อินทนนท์

แผนที่ แม่กลางหลวง-อินทนนท์

และสามารถนั่งรถประจำทางสีเหลืองที่ขึ้นดอยอินทนนท์ได้เช่นกัน บอกคนขับว่าลงแม่กลางหลวง กม.ที่ 26 แล้วเดินเข้าหมู่บ้านได้เลยไม่ไกล 50 เมตร ก็ถึงแล้ว
สำหรับใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแนวธรรมชาติน่าจะชอบที่นี่เป็นแน่ครับ เงียบและสงบดี สามารถสูดอากาศได้แบบลึกๆ เต็มปอดสบายใจดีทีเดียวเลยครับ phateaw.com ส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวไทยกันครับ ครั้งหน้าผมจะมาแนะนำสถานที่อีกที่หนึ่งที่คนมาที่นี่แล้วน่าจะได้ไปกันครับ โปรดติดตาม 😉


Share this: Twitter | StumbleUpon | Facebook | digg

Comments

comments

เรื่องนี้ถูกเขียนใน เที่ยวธรรมชาติ และติดป้ายกำกับ , , , , , , , , , , , , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *