พาเที่ยว สังขละบุรี

พาเที่ยว สังขละบุรี

สวัสดีอากาศหนาวๆ กับชาว phateaw.com อากาศแบบนี้คงเตรียมตัวไปเทียวกันแล้วใช่ไหมครับ ส่วนมากจะขึ้นเหนือกันใช่ไหมล่ะ แต่วันนี้ผมขอสวนกระแสหน่อยกับการแนะนำสถานที่อาจจะคุ้นหูหลายท่านแล้ว นั้นคือ” สะพานมอญ” สังขละบุรี ในจังหวัดกาญจนบุรีเรานี่เองครับ ไม่ไกลมากนักกับการไปพักผ่อนท่องเที่่ยววันอากาศสบายๆแบบนี้

สังขละบุรี

สังขละบุรี

– สะพานมอญ สังขละ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ “สะพานไม้อุตตมานุสรณ์” เดิมทีเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศ ซึ่งมีความยาวทอดข้ามสองฝั่งประมาณ 1 กม. หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการให้สร้างเพื่อความสะดวกแก่พี่น้อง คนไทย และมอญ ในการข้ามฝั่งแม่น้ำไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้นลดเวลาในการเดินทางอ้อมได้หลายกิโลเมตร

สะพานมอญ

สะพานมอญ

แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2556 หลังจากฝนได้ตกติดต่อกันมานานทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลพาดผ่านมีความแรงและมาก เป็นเหตุทำให้สะพานมอญแห่งนี้ ได้แตกพังที่บริเวณกลางของสะพาน เป็นข่าวที่น่าตกใจของชาวบ้านและนักท่องเที่่ยวมากเพราะสะพานแห่งนี้อยู่คู่กับชาวบ้านสองฝั่งนี้มานมนานและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของที่นี่ก็ว่าได้ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านของทั้ง 2 ฝั่งฟากแห่งนี้และการช่วยเหลือของพี่ๆ ทหารจากกองกำลังสุรสีห์ได้ช่วยกันสร้างสะพานชั่วคราว ลักษณะคล้ายแพยาวมาต่อๆ กันจนแล้วเสร็จและเรียกกันว่า”สะพานไม้บวบ” “สะพานลูกบวบ” แล้วแต่ใครถนัดใช้เวลาในการสร้างเพียง 6 วัน ด้วยการร่วมแรงร่วมใจบวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านจึงสำเร็จได้อย่างรวดเร็วอย่างน่าชื่นชม

สะพานไม้บวบ

สะพานไม้บวบ

โดยสะพานมอญเดิมที่พังลงนี้ ได้ถามชาวบ้านแถวนั้นแล้วได้ความว่า จะต้องซ่อมแน่นอนแต่ต้องรอให้ผ่านฤดูน้ำหลากและปริมาณน้ำลดลงกว่านี้เสียก่อนจึงจะซ่อมได้สะดวกใครที่รอชมสะพานมอญของเดิมต้องรอกันสักพักนะ   ในเวลาตลอดวันท่านจะได้ชมวิถีชีวิตชาวมอญกับสะพานแห่งนี้  เด็กๆ กระโดดน้ำเล่นกันทั้งวัน  และมีไกด์นำเที่ยวรุ่นเยาว์  วิ่งเข้าหามาเล่าประวัติสะพานมอญกันอย่างกุลีกุจอ    ก็ถือเป็นการหารายได้พิเศษสำหรับเด็กๆที่นี่

– เมืองบาดาล เป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะ นั่นเองสร้างขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2496 เป็นจุดที่แม่น้ำ3 สาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำ รันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีและวัดแห่งนี้ด้วย หลวงพ่อจึงได้ย้ายมาสร้างวัดมาอยู่บนเนินเขาและเป็นวัดวัดวังก์วิเวการามในปัจจุบัน ในช่วงฤดูฝนและหนาวนี้น้ำมาก นักท่องเที่ยวจึงนิยมรอ่งเรือไปชมวัดนี้ ที่จะโผล่พ้นน้ำเพียงยอดเจดีย์โบสน์ แต่ถ้ามาในหน้าแล้ง มีนา-เมษา ก็จะเห็นตัววัดทั้งหมดสามารถลงไปเดินเล่นกันได้เลย   สำหรับท่านไดต้องการร่องเรือชมเมืองบาดาลก็มีเรือบริการทั้ง 2 ฝากฝั่งครับผม  แนะนำให้เดินสืบราคาก่อนไม่ต้องรีบจะได้ราคาถูกกว่า ^^

เมืองบาดาล

เมืองบาดาล

– วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตะมะ) เป็นวัดประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามและเป็น ที่จำพรรษาของ หลวงพ่ออุตตมะ สร้างกันในปี พ.ศ. 2499หลวงพ่ออุตตมะ โดยการร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญได้พร้อมใจกัน สร้างศาลาวัดขึ้น

วัดวังก์วิเวการาม

วัดวังก์วิเวการาม

– เจดีย์พุทธคยา เป็นเจดีย์องค์ใหญ่บนยอดเจดีย์ ซึ่งประดับด้วยฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกาเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธากระดูกนิ้วหัวแม่มือขวาของ พระพุทธเจ้าที่ขนาด เท่าเมล็ดข้าวสาร ไว้เป็นที่ สักการะของพุทธศาสนิกชนเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตุบริเวณใกล้กับ เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา

การเดินทาง
จากกรุงเทพใช้ถนนหมายเลข 4 ผ่าน นครปฐม สู่กาญจนบุรี อ.ทองผาภูมิ ซึ่งจะผ่านทั้งไทรโยคน้อย – ไทรโยคใหญ่ ( หลักกิโลเมตรที่ 125  ) ท่านจะพบสามแยกตรงไปไปอำเภอทองผาภูมิ +เขื่อนเขาแหลม ถ้าเลี้ยวขวาไป อำเภอสังขละบุรี)ให้ท่าน เลี้ยวขวามือไป สังขละบุรี ซึ่งท่านจะผ่าน น้ำตกเกริงกะเวีย-น้ำตกไดช่องถ่อง ผ่านอช. เขื่อน เขาแหลม เมื่อไปถึงแยก ด่านเจดีย์สามองค์ ท่านไม่ต้องเลี้ยวขวา ให้ขับตรงไป ประมาณ 7 กม. จะพบแยก ซ้ายมือไปสะพานอุตตมานุสรณ์ ขับเข้ามาอีกประมาณ 300 เมตร ก็จะพบสะพานอุตตมานุสรณ์ หากต้องการไป เที่ยววัดวิเววังการามจากแยกด่านเจดี่ย์สามองค์ไม่ต้องเลี้ยวขวาให้ขับตรงไป ประมาณ 7 กม.จะเห็นแยกขวา วัดวังก์วิเวการาม และแยกซ้ายไป เจดีย์พุทธคยาจำลอง ให้ท่านเลี้ยวซ้ายไปทางเจดีย์พุทธคยา

แผนที่สังขละบุรี

แผนที่สังขละบุรี

ที่พัก ที่พักสังขละบุรีราคาพิเศษสามารถจองล่วงหน้าได้ >>> ที่นี่ <<< เลยครับ

ทีมารูป : iammote.thaimultiply.com (admin เอง)


Share this: Twitter | StumbleUpon | Facebook | digg

Comments

comments

เรื่องนี้ถูกเขียนใน เที่ยวธรรมชาติ และติดป้ายกำกับ , , , , , , , , , , , , , , , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร