ตามล่านางพญาเสือโคร่ง ณ อ่างขาง

ตามล่านางพญาเสือโคร่ง ณ  อ่างขาง
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่าสวัสดีปีใหม่ 2555 และส่งท้ายปีเก่า 2554 นะครับ
ขอให้เริ่มต้นปีใหม่กับสิ่งดีๆ ในชีวิตกันนะครับ อะไรไม่ดีร้ายๆ ก็ลืมๆ ทิ้งไป
กับปีเก่าๆ ที่กำลังจะผ่านไปนะครับ วันนี้ขอนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่สดใสๆ
เพื่อเป็นฤกษ์ดีสำหรับความสดใส กับปีที่กำลังจะเข้ามานะครับนั่นก็คือ
ดอยอ่างขางครับ ผมจะพาท่านผู้ชมไปชมดอกนางพญาเสือโคร่งครับ หรือที่ใครๆ
ต่างเรียกขนานนามกันว่าเป็นดอกซากุระเมืองไทยครับ

ดอกนางพญาเสือโคร่ง อ่างขาง

ดอกนางพญาเสือโคร่ง อ่างขาง

ประวัติความเป็นมาของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้เล่ามากันว่าครั้งหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้
และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่ง
ให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น
และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละ
ถักเปียยาว  แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลาย
ทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อส่วนอื่นๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัส
ที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตรจึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศ
ที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมากแต่ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก
ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการ
ปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานี  ทดลองไม้ผลเมืองหนาว
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตาต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง
จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง

ส่วนหนึ่งจากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์
เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี
เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย
และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว
เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ
ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า
“สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

ดอกนางพญาเสือโคร่ง

ดอกนางพญาเสือโคร่ง

โดยคำว่า “อ่างขาง” ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง
ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร
ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ
แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลง
กลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ข้างทางไปอ่างขาง

ข้างทางไปอ่างขาง

ในปีนี้ดอกนางพญาเสือโคร่งนั้น บานไม่ค่อยพร้อมกันครับ โดยทางขึ้นไปบนดอยนั้น
สัก 2-3 กิโลก่อนถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขางนั้น เต็มไปด้วยต้นนางพญาเสือโคร่ง
แต่เท่าที่ดูส่วนมากจะเริ่มออกใบอ่อนแล้ว แสดงว่ามันเคยบานเต็มที่ไปแล้ว
แต่ก็ยังมีบางต้นที่ยังเต็มไปด้วยดอกครับ แต่ก็ยังสวยงามใช้ได้อยู่บวกกับเส้นทาง
ราดยางดีครับเลยทำให้ยัง ส่วนในบริเวณหมู่บ้านด้านในจะมีรีสอร์ทบางที่ปลูกไว้ด้วย
กำลังออกดอกบานเต็มที่เลยครับ ทำให้ดูบางมุมแทบไม่เหมือนว่าอยู่ประเทศไทยเลย
ในส่วนของด้านในของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง บางต้นออกเต็มที่
แต่บางต้นก็ยังไม่ออกครับเลยน่าเสียดายอยู่เหมือนกันถ้าบานพร้อมกัน
คงจะสวยงามมากๆครับดอกนางพญาเสือโคร่งนั้นปีหนึ่ง จะบานแค่ 1 ครั้งเองครับ
ซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคม – กลางเดือนมกราคม ครับ
โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศแต่ละปีกันไปครับหลังๆ อากาศโลกเราใบนี้มันแปรปรวน
ขึ้นทุกทีเลยทำให้ดอกไม้เอง ก็คงงงครับว่านี่ฤดูอะไรกันแน่
โดยเมื่อดอกนางพญาเสือโคร่งจะบานเต็มที่แล้วจะมีระยะเวลาประมาณ
10-15 วันเท่านั้น ดอกมันก็จะร่วงโรยลงครับ จึงทำให้หากปีไหนได้ยินข่าวว่า
เริ่มออกดอกแล้วต้องรีบวางแผนเดินทางกันไปเลยครับเพื่อไม่พลาดโอกาสงามๆ

ดอกไม้ในศูนย์เกษตรอ่างขาง

ดอกไม้ในศูนย์เกษตรอ่างขาง

นอกจากการเยี่ยมชมดอกนางพญาเสือโคร่งแล้ว  ภายในโครงการหลวงเกษตรอ่างขาง
ยังมีดอกไม้สวยงามให้เยี่ยมชมอีกมากมายที่ปลูกและจัดไว้อย่างสวยงามครับ
และเรายังได้พบเห็นวิถีชีวิตของชาวเขาที่ปลูกผักผลไม้มาขายกันสดๆ อีกเช่นเคยครับ

แผนที่และการเดินทาง

การเดินทางเส้นทางขึ้นไปดอยอ่างขาง จะมี 2 เส้นทางครับ
เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่ บนถนนเส้น 107 ผ่านไปทาง อ.ฝาง ถึง กม.ที่ 137
จะมีแยกซ้ายไปอ่างขาง ประมาณ 25 กม. แต่เส้นนี้จะชันมากๆ ครับ เหมาะกับรถกระบะ
4×4 และคนขับประสบการณ์ขับขึ้นเขามากๆ ครับ ไม่งั้นเบรคและคลัชอาจจะไหม้ หรือ
ได้รับอันตรายได้ครับ
เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปบนเส้น 107 ถึงกม.ที่ 79 แยกไปทาง อ.เชียงดาว
ซึ่งจะตัดผ่านหมู่บ้านไปเลยครับ เส้นทางราดยางเหมือนกันแต่จะอ้อมกว่า
เส้นทางแรกมากอยู่แต่ความชันรถเก๋งเล็กๆ ก็ผ่านไปได้ครับ แต่ก็อย่าประมาทครับ
เมื่อผ่านด่านทหารแรกแล้วก็จะเหลือเส้นทาง 50 กม.ครับ
เป็นเส้นเลาะตามแนวภูเขาเช่นกันครับไม่ควรประมาท

แผนที่ ดอยอ่างขาง

แผนที่ ดอยอ่างขาง

ที่พัก
นอกจากการเที่ยวแบบพักแรมด้วยการกางเต๊นท์ที่นิยมกันสำหรับกาเที่ยวที่นี่กันแล้ว
หากท่านไดไม่สะดวกก็สามารถหาที่พักในตัวเมืองเชียงใหม่แล้วค่อยขับรถขึ้นมาได้ครับ

ที่พักในตัวเมืองเชียงใหม่
ที่พักใน อ.ฝาง
ที่พักใน อ.เชียงดาว  

เป็นไงบ้างครับสถานที่สวยๆ แบบนี้อย่าพลาดกันนะครับ  พาเพื่อน พาแฟน
พาเพื่อนไปเที่ยวกันนะครับ พาเที่ยว.คอม แนะำนำให้ไปเที่ยวกันนะครับ
นำความสดใสความสดชื่นมาสู่ชีวิตกันนะครับ  ยินดีต้อนรับปีใหม่นะครับ 2555
ขอให้เป็นปีที่หัวเราะเยอะๆ นะครับ

รูปประกอบจาก http://iammote.multiply.com

Share this: Twitter | StumbleUpon | Facebook | digg

Comments

comments

เรื่องนี้ถูกเขียนใน เที่ยวธรรมชาติ และติดป้ายกำกับ , , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *